เมนู

ส. ถูกแล้ว.
ป. กามราคะนอนเนื่องในกามธาตุ นับเนื่องในกามธาตุ
มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า กามราคะนอนเนื่องในกามธาตุ นับเนื่องใน
กามธาตุ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปราคะนอนเนื่องในรูปธาตุ
นับเนื่องในรูปธาตุ อรูปราคะนอนเนื่องในอรูปธาตุ นับเนื่องในอรูปธาตุ
ปริยาปันนกถา จบ

อรรกถาปริยาปันนกถา



ว่าด้วย ธรรมที่นับเนื่องกัน



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องธรรมที่นับเนื่องกัน. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มี
ความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะและสมิติยะทั้งหลายว่า กามราคะ คือ
ความยินดีในกาม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นอนเนื่องในกามธาตุ นับ
เนื่องในกามธาตุ เหตุใด เพราะเหตุนั้น แม้รูปราคะ คือความยินดีในรูป
ก็ชื่อว่า นอนเนื่องในรูปธาตุและอรูปธาตุ นับเนื่องกันด้วยรูปธาตุและ
อรูปธาตุ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า รูปราคะ เป็นต้น โดยหมายถึง
ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ในคำเหล่านั้น คำว่า นอนเนื่อง
อธิบายว่า สกวาทีย่อมถามว่า กามราคะย่อมนอนเนื่องด้วยสามารถแห่ง
การเกิดพร้อมกับกามธาตุ กล่าวคือกามวิตก ฉันใด แม้รูปราคะก็เป็น
รูปธาตุตามลัทธิของท่าน ฉันนั้นหรือ. คำว่า นับเนื่อง อธิบายว่า สกวาที
ย่อมถามว่าเหมือนอย่างว่า การนับเนื่องนั้นชื่อว่านับเนื่องกันด้วยกามธาตุ

เพราะนับเนื่องกันด้วยอำนาจกิเลสกามของกามธาตุ 3 อย่าง ฉันใด แม้
รูปราคะก็เป็นสภาพที่นับเนื่องด้วยรูปธาตุตามลัทธิของท่าน ฉันนั้นหรือ
ฝ่ายปรวาทีเมื่อไม่กำหนดความประสงค์ของสกวาทีนั้น จึงตอบรับรองว่า
ใช่ ด้วยสามารถแห่งลัทธิอย่างเดียวเท่านั้น. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าว
คำว่า เป็นธรรมแสวงหาสมาบัติ เป็นต้น เพื่อจะให้ปรวาทีกำหนด
เนื้อความนั้น และเพื่อถามเทียบเคียงกับจิตที่แสวงหาสมาบัติอันบัณฑิต
นับพร้อมแล้วว่ากุศล วิปากและกิริยาจิต. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบ
เนื้อความตามพระบาลีนั่นแหละ. แม้คำว่า กามราคะนอนเนื่องในกามธาตุ
นับเนื่องด้วยกามธาตุมิใช่หรือ
นี้ ย่อมแสดงถึงความที่กามราคะนั่นแหละ
เป็นธรรมชาติที่นอนเนื่องในกามธาตุด้วย เป็นสภาพที่นับเนื่องในกามธาตุ
ด้วย มิใช่แสดงถึงความที่ธาตุนอกนี้นอนเนื่องและนับเนื่องในธาตุนอกนี้
ดังนี้แล.
อรรถกถวปริยาปันนกถา จบ

อัพยากตกถา



[1586] สกวาที ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นวิบากอัพยากฤต เป็นกิริยาอัพยากฤต เป็นรูป
เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ผัสสะที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิเป็นอัพยากฤต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต หรือ ?
ป. ถูกเเล้ว.
ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จิตที่สัมปยุต
ด้วยทิฏฐิ เป็นอัพยากฤต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1587] ส. ผัสสะที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิเป็นอกุศล หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ทิฏฐิเป็นอกุศล หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา จิตที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ
เป็นอกุศล หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.